คู่มือการใช้ชีวิต

  • HOME
  • คู่มือการใช้ชีวิต
  • ประกันสุขภาพ/การรักษาพยาบาล/โรงพยาบาล
ประกันสุขภาพ/การรักษาพยาบาล/โรงพยาบาล

【ประกันสุขภาพ/การรักษาพยาบาล/โรงพยาบาล】
 ■ประกันสุขภาพ
 ・ในญี่ปุ่นมีประกันสุขภาพสาธารณะที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ในกรณีที่ป่วยหรือบาดเจ็บ
 ・ประกันการรักษาพยาบาลมี "ประกันสุขภาพ" ที่บุคคลซึ่งทำงานอยู่ในบริษัทต่างๆ จะเข้าร่วมและ "ประกันสุขภาพพลเมือง" ที่ใช้กับบุคคลอื่นๆ ที่นอกเหนือจากบุคคลที่กล่าวมาข้างต้น ฯลฯ ซึ่งจะต้องจ่ายค่าประกันในจำนวนเงินคงที่ และเมื่อทำการแสดงใบประกันสุขภาพที่โรงพยาบาลก็จะได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลต่ำกว่า 30% ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
 ・อีกทั้งหากจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่หน่วยงานการแพทย์ในหนึ่งเดือนเกินกว่าจำนวนเงินค่าประกันคงที่ซึ่งได้จ่ายไป ก็จะสามารถยื่นขอ "เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลที่มีราคาสูง" ได้

 ■โรงพยาบาล
 ・ในญี่ปุ่นมีทั้งโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ที่มีเครื่องมืออุปกรณ์ครบครัน และมีสถานพยาบาลหรือคลินิกที่ทำการรักษาอาการป่วยหรือบาดแผลที่เกิดขึ้นทั่วไปในชีวิตประจำวัน
 ・โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายแต่เป็นการตรวจตามลำดับการมาถึงก่อนหลัง จึงมีโอกาสที่จะต้องรอเป็นระยะเวลานาน

 ■การดูแลฉุกเฉินวันหยุดและกลางคืน
 ・กรณีที่เกิดการป่วยในเวลากลางคืน ฉุกเฉิน หรือเกิดการบาดเจ็บโดยไม่คาดคิดขึ้น คุณสามารถเข้ารับการรักษา หรือปฐมพยาบาลฉุกเฉินได้ที่แพทย์ฉุกเฉินที่เข้าเวรในพื้นที่ หรือศูนย์การพยาบาลฉุกเฉินสำหรับวันหยุดและเวลากลางคืน กรุณาตรวจสอบหนังสือแจ้งข่าวสารและโฮมเพจของเทศบาล ฯลฯ

<หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง>
 ●ช่องทางสอบถามและการยื่นเรื่อง
 (การเข้าร่วมประกันสุขภาพพลเมือง、ข้อมูลโรงพยาบาล、การดูแลฉุกเฉินวันหยุดและกลางคืน)
  ・รายชื่อเทศบาลนครและเทศบาลเมือง(หลายภาษา)
   /soudan/XXXX
   (ข้อมูลโรงพยาบาล、คู่มือการเข้าใช้โรงพยาบาล)
  ・องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น(JNTO)(หลายภาษา)
   https://www.jnto.go.jp/emergency/jpn/mi_guide.html
 (การดูแลฉุกเฉินวันหยุดและกลางคืน)
  ・การรักษาฉุกเฉินของฮอกไกโด・ระบบข้อมูลภัยพิบัติบริเวณกว้าง(ภาษาญี่ปุ่น)
   http://www.qq.pref.hokkaido.jp/qq/qq01.asp
    TEL:0120-206-8699(ศูนย์แนะนำข้อมูลการแพทย์ฉุกเฉิน)
  ・สมาคมแพทย์ฮอกไกโด(ภาษาญี่ปุ่น)
   http://www.hokkaido.med.or.jp/hokkaido/ambulance.html

■ล่ามแพทย์
 ・หน่วยงานการแพทย์ที่สามารถรองรับภาษาต่างประเทศได้มีอยู่จำกัด ดังนั้นกรุณาไปกับบุคคลที่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้หรือเข้ารับการตรวจด้วย "แบบสอบถามเพื่อการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์หลายภาษา"
  บางพื้นที่จะมีบริการล่ามของกลุ่มส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย สำหรับกรณีฉุกเฉิน ฯลฯ กรุณาปรึกษากับสถานกงสุลของประเทศตน

<หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง>
 ●รายละเอียดของระบบและการยื่นเรื่อง
 (แบบสอบถามเพื่อการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์หลายภาษา)
  ・มูลนิธิส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคานากาวะ (หน่วยงานสาธารณะ)(หลายภาษา)
   http://www.kifjp.org/medical/
 ●ช่องทางสอบถามและการยื่นเรื่อง
 (ล่ามการแพทย์ทางโทรศัพท์หลายภาษา)
  ・องค์การไม่แสวงหาผลกำไร NPO ศูนย์ข้อมูลการแพทย์ระหว่างประเทศ AMDA(หลายภาษา)
   https://www.amdamedicalcenter.com/amdainterpreter
 (ล่ามแพทย์)
  ・สมาคมล่ามการแพทย์ทั่วประเทศ (องค์กร)
   https://national-association-mi.jimdo.com/医療通訳派遣団体リスト/