【การดำเนินเรื่องที่หน่วยงานราชการ】
■ระบบสมุดรายนามผู้พำนักอาศัยเบื้องต้นและใบสำคัญถิ่นที่อยู่ของชาวต่างชาติ
・ผู้ที่พำนักอาศัยในญี่ปุ่นระยะกลางและยาวเกินกว่า 90 วันจะต้องได้รับ "บัตรแสดงสถานภาพการพำนัก" ซึ่งจำเป็นจะต้องยื่นเรื่อง "ชี้แจงถิ่นที่อยู่อาศัย" ที่เทศบาลนครหรือเทศบาลเมืองที่จะเข้าอยู่อาศัยภายใน 14 วันนับจากวันที่มีการกำหนดถิ่นที่อยู่แล้ว
・จากการแจ้งนี้ ข้อมูลจะถูกบันทึกในสมุดรายนามผู้พำนักอาศัยเบื้องต้น และใบสำคัญถิ่นที่อยู่ก็จะถูกจัดทำขึ้น
■การเปลี่ยนแปลงที่อยู่
・กรณีที่ย้ายที่พักโดยยังอยู่ภายในเทศบาลเดิม จำเป็นต้องยื่นแจ้งย้ายที่อยู่ และกรณีที่ย้ายไปยังเขตเทศบาลอื่น จำเป็นต้องยื่นแจ้งการย้ายออกและย้ายเข้า
<หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง>
●รายละเอียดของระบบและการยื่นเรื่อง
・กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร(หลายภาษา)
http://www.soumu.go.jp/main_sosiki/jichi_gyousei/c-gyousei/zairyu/index.html
・ศูนย์บริการงานตรวจคนเข้าเมืองและควบคุมการพำนักอาศัย (Immigration Services Agency) กระทรวงยุติธรรม (หลายภาษา)
http://www.immi-moj.go.jp/newimmiact_1/index.html
●ช่องทางสอบถามและการยื่นเรื่อง
(บัตรแสดงสถานภาพการพำนัก)
・สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและควบคุมการพำนักอาศัยซัปโปโร (ภาษาญี่ปุ่น/ภาษาอังกฤษ) และสาขาย่อย
http:// www.immi-moj.go.jp/soshiki/kikou/sapporo.html
TEL:011-261-7502(ตัวแทน)
(ชี้แจงถิ่นที่อยู่อาศัย)
・รายชื่อเทศบาลนครและเทศบาลเมือง(หลายภาษา)
/soudan/guide/shichoson.xls
■การลงทะเบียนตราประทับ
・จำเป็นต้องใช้ตราประทับในการเปิดบัญชีธนาคารและทำสัญญาโทรศัพท์ต่างๆ อีกทั้งในการยื่นเรื่องสำคัญหรือทำสัญญา (เช่น การซื้อที่ดินและการซื้อรถยนต์) จำเป็นจะต้องใช้ตราประทับ (ตัวจริง) ที่มีการลงทะเบียนเอาไว้ที่เทศบาล
・ขอรับใบรับรองตราประทับว่าได้รับการลงทะเบียนแล้วได้ โดยใช้ใบยืนยันการลงทะเบียนตราประทับที่ได้รับมา
■การแจ้งสมรส/การแจ้งหย่า
・ในญี่ปุ่นจะมีระบบทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นหลักฐานแสดงต่อสาธารณะโดยมีการบันทึกความสัมพันธ์ของบุคคล เช่น การเกิดและการตาย, การสมรส ฯลฯ
・日กรณีที่มีการแต่งงานที่ญี่ปุ่น นอกจากจะต้องยื่นเรื่องไปที่เทศบาลแล้ว ยังจำเป็นจะต้องแจ้งต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและควบคุมการพำนักอาศัยท้องถิ่น, สถานทูต และสถานกงสุลของประเทศตน
■ลงทะเบียนตาย
・รณีที่เสียชีวิตในประเทศญี่ปุ่นจะต้องแจ้งต่อเทศบาลภายใน 7 วัน
■ระบบมายนัมเบอร์
・หลังได้รับการลงทะเบียนใบสำคัญถิ่นที่อยู่แล้ว "บัตรแจ้ง" ที่มีหมายเลขประจำตัว 12 หลักก็จะถูกจัดส่งไปให้ และ "มายนัมเบอร์" นี้จะถูกใช้ในงานราชการต่างๆ เช่น ประกันสังคม, ภาษี และมาตรการป้องกันอุบัติภัย ฯลฯ ดังนั้นกรุณาเก็บรักษาให้ดี
・เมื่อทำการยื่นคำร้องต่อเทศบาลหลังจากมีการแจ้งมายนัมเบอร์แล้วจะได้รับ "บัตรมายนัมเบอร์" ที่เป็นบัตร IC พร้อมรูปถ่ายใบหน้าโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และสามารถยื่นคำร้องผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรับเอกสารยืนยันตัวที่เป็นทางการเพื่อรับบริการของราชการได้
■การยื่นคำร้องอื่นๆ
・เงินบำนาญ … อ้างอิงจาก「ภาษี/เงินบำนาญ」
・ประกันสุขภาพ … อ้างอิงจาก「ประกันสุขภาพ/การรักษาพยาบาล/โรงพยาบาล」
・ใบแจ้งเกิด … อ้างอิงจาก「คลอดบุตร/เลี้ยงดูบุตร 」
・การย้ายโรงเรียนประถมและมัธยมต้น … อ้างอิงจาก「การศึกษา」
<หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง>
●รายละเอียดของระบบและการยื่นเรื่อง
・สำนักงานคณะรัฐมนตรี(หลายภาษา)
https://www.cao.go.jp/bangouseido/foreigners/index.html (ระบบมายนัมเบอร์)
TEL:0120-0178-26(คอลเซ็นเตอร์หลายภาษา)
●ช่องทางสอบถามและการยื่นเรื่อง
(การยื่นเรื่องต่างๆ
・รายชื่อเทศบาลนครและเทศบาลเมือง(หลายภาษา)
/soudan/guide/shichoson.xls
(การแต่งงาน/หย่าร้าง/เสียชีวิต
・รายการสถานทูตต่างประเทศในประเทศญี่ปุ่น กระทรวงการต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ/ภาษาแม่
https://www.mofa.go.jp/about/emb_cons/over/multi.html
・สถานกงสุลใหญ่และสถานกงสุลแต่ละประเทศในฮอกไกโด(ภาษาญี่ปุ่น/ภาษาอังกฤษ/ภาษาแม่)
/soudan/guide/koukan.xls